เมนู

เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัตว์ให้ตกไปในที่ชั่ว ที่ชื่อว่า อวินิปาตธรรม
เพราะเป็นธรรมที่ยังสัตว์ให้ตกไปในที่ชั่ว อธิบายว่า เป็นธรรมที่ไม่
ยังตนให้ตกไปในอบายทั้งหลายเป็นสภาพ.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะธรรมซึ่งมีการยังสัตว์ให้ตกไปในอบายเหล่านั้น ท่าน
ละได้แล้ว.
ปัญญาเครื่องตรัสรู้. เป็นที่ไปข้างหน้า คือเป็นคติของพระโสดาบัน
นั้น ฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่ามีปัญญาเครื่องตรัสรู้ เป็นที่ไปข้างหน้า อธิบาย
ว่า เป็นผู้บรรลุมรรค 3 เบื้องสูงแน่นอน.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะท่านได้โสดาปัตติมรรคแล้ว.
บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้ผู้ประสงค์จะให้ตนเป็นเช่นนี้
พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.

ความหวังที่ 10


[83] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ 10 ต่อไป
สังโยชน์ 3 ที่พระโยคาวจรละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ท่านก็กล่าว
ไว้เพื่อประโยชน์แก่การพรรณนาสกทาคามิมรรค.
บทว่า ราคโทสโมหานํ ตนุตฺตา ความว่า เพราะภาวะที่ราคะ
โทสะ โมหะ เหล่านั้นเป็นสภาพเบาบาง อธิบายว่า เพราะกระทำ ราคะ
โทสะ โมหะ เหล่านั้นให้เบาบางลง.
ในคำนั้นพึงทราบความที่ราคะเป็นต้นนั้น เป็นธรรมชาติเบาบางก็

ด้วยเหตุ 2 ประการคือ เพราะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และเพราะปริยุฏฐาน-
กิเลสมีกำลังอ่อน. ความจริงกิเลสทั้งหลายย่อมไม่บังเกิดขึ้นแก่พระสก-
ทาคามีเนือง ๆ เหมือนบังเกิดแก่มหาชนผู้ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะ. ย่อมเกิด
ขึ้นเป็นช่วงห่าง ๆ ในกาลบางคราว เหมือนหน่อพืชในนาที่ปลูกไว้ห่าง ๆ
และแม้เมื่อเกิดขึ้นย่อมไม่เกิดขึ้นย่ำยี แผ่ซ่าน ปกปิด กระทำความมืดมน
อนธการ เหมือนเกิดแก่มหาชนผู้เวียนว่ายในวัฏฏะ ย่อมเกิดขึ้นเบาบาง
คือเป็นธรรมชาติเบาบางเกิดขึ้น เหมือนชั้นแห่งเมฆหมอก (ที่บางขึ้นตาม
ลำดับ) และเหมือนแมลงเคล้าคลึงกลีบดอกไม้ (ไม่ย่ำยีให้ช้ำ) ฉะนั้น.
ในเรื่องนั้น พระเถระบางพวกได้กล่าวไว้ว่า กิเลสทั้งหลาย ต่อ
กาลนานจึงเกิดขึ้นแก่พระสกทาคามีก็จริง ถึงกระนั้นก็เกิดขึ้นอย่างหนา
แน่น เพราะท่านยิ่งมีบุตรธิดาอยู่. แต่คำนั้นไม่เป็นประมาณ เพราะ
บุตรธิดา บางครั้งก็เกิดมีแก่บิดามารดาด้วยเหตุเพียงการลูบคลำอวัยวะ
ฉะนั้น พึงทราบความที่กิเลสของพระสกทาคามีนั้นเป็นธรรมชาติเบาบาง
ก็ด้วยเหตุ 2 อย่างเท่านั้น คือเพราะการเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และเพราะ
ปฏิยุฏฐานกิเลสของท่านเบาบางลง.
บทว่า สกทาคามี ความว่า ผู้มีการกลับมาสู่มนุษย์โลกนี้เพียงครั้งเดียว
เท่านั้น ด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
ก็แม้ผู้ใดเจริญสกทาคามิมรรคในโลกนี้แล้ว ปรินิพพานในโลกนี้
แม้ผู้นั้นท่านก็ไม่จัดไว้ในที่นี้. แม้ผู้ใดเจริญมรรคในโลกนี้แล้ว บังเกิดใน
เทวโลกแล้วปรินิพพานในเทวโลกนั้น ผู้นั้นก็ไม่จัดเข้าในที่นี้. ผู้ใดเจริญ
มรรค ในเทวโลกแล้วกลับมาเกิดแล้วปรินิพพานในมนุษยโลกนี้ ผู้นั้นก็
ไม่จัดเข้าในที่นี้. แม้ผู้ใดเจริญมรรคในโลกนี้แล้ว บังเกิดในเทวโลก

ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นจนสิ้นอายุแล้ว บังเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกแล้วปริ-
นิพพาน ผู้นี้แหละพึงทราบว่าท่านถือเอาในคำนี้.
บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตํ กเรยฺยํ ความว่า เราพึงทำการกำหนดวัฏฏ-
ทุกข์.
บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้เป็นผู้ประสงค์จะให้ตนเป็น
เช่นนี้ พึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.

ความหวังที่ 11


[ 84 ] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ 11 ต่อไป
บทว่า ปญฺจนฺนํ เป็นการกำหนดด้วยการนับ.
บทว่า โอรมฺภาคิยานํ ความว่า ภายใต้ ท่านเรียกว่า โอระ.
ได้แก่ส่วนเบื้องล่าง อธิบายว่า มีการบังเกิดขึ้นในโลกฝ่ายกามาวจรเป็น
ปัจจัย.
บทว่า สํโยชนานํ ได้แก่กิเลสเป็นเครื่องผูก กิเลสเป็นเครื่องผูก
เหล่านั้นพึงทราบว่า ได้แก่สังโยชน์ซึ่งท่านกล่าวไว้ในกาลก่อน (คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ) พร้อมด้วยสังโยชน์ คือกาม.
ราคะ. และพยาบาท. ความจริง สังโยชน์เหล่านั้นผู้ใดยังละไม่ได้ แม้
ผู้นั้นจะบังเกิดขึ้นในภวัคคพรหมก็จริง ถึงกระนั้นเขาก็ย่อมบังเกิดใน
กามาวจรอีก เพราะสิ้นอายุ บุคคลนี้พึงทราบว่ามีอุปมาเสมอด้วยปลาติด
เบ็ด และมีอุปมาเหมือนนกตัวถูกด้ายยางผูกติดไว้ที่ขา. ฉะนั้น ก็ใน
อธิการนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวคำนี้ ไว้เพื่อประโยชน์แก่การพรรณนา
พระอริยบุคคลซึ่งท่านกล่าวไว้แต่แรก ๆ.